SMEยุทธวิธีเศรษฐีใหม่-สำรวจยุคเปลี่ยนผ่านดิจิทัล SME ทำได้ดีแค่ไหน-

ในสนามกีฬา ถ้าอยากรู้ว่านักกีฬาคนใด ทีมไหน มีความพร้อมมากที่สุด เรามักจะพิสูจน์จากรางวัลในสนามแข่งขัน แต่กับ “ความพร้อมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล” หรือ Digital Transformation” ของสนามธุรกิจนั้น เรื่องนี้ก็น่าจะเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการหลายคนสนใจว่าเราใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด? ที่วันนี้คอลัมน์นี้มีข้อมูลนำมาให้พิจารณากัน…

สำหรับประเด็นดังกล่าวเป็นบทความที่ทาง ETDA (เอ็ตด้า) ได้เผยแพร่ให้ข้อมูลไว้ ซึ่งโฟกัสที่ กลุ่มธุรกิจ SME ของไทย เกี่ยวกับ “ความสามารถในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล” โดยในบทความนี้ระบุว่า ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเร่งส่งเสริมสนับสนุนให้ SME นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ พร้อมรองรับโลกอนาคตกันอย่างต่อเนื่อง แต่คำถามคือแล้วทำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการจะชี้วัดเรื่องนี้ได้จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือตัวเพื่อวัดผล โดยเครื่องมือที่หลายประเทศนิยมนำมาใช้กัน ก็คือ “Digital Maturity Model” ซึ่งช่วยทำให้เราทำความเข้าใจสถานะความพร้อมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะธุรกิจใดที่มี Digital Maturity ในระดับสูง จะมีโอกาสได้เปรียบการเเข่งขันมากกว่า ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น  ETDA ก็ได้นำเครื่องมือนี้มาเป็นกรอบตรวจวัดความพร้อมด้านดิจิทัลของ SME ไทยทั่วประเทศ ผ่านการสำรวจในหัวข้อ SME Digital Maturity Survey 2023 ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ คำพูดจาก รวมเว็บ PG Slot

1.SME ส่วนใหญ่มีความพร้อมเป็น Digital Follower มากที่สุด โดยราว 44.81% มีความพร้อมเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลระดับปานกลาง โดยมีความเข้าใจและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้ แต่ยังมีปัญหาเรื่องของการขาดการบูรณาการด้านดิจิทัลอย่างทั่วถึง ส่วนรองลงมา 31.30% มีความพร้อมระดับสูง (Digital Native) ขณะที่อีก 20.47% นั้น มีความพร้อมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในระดับต่ำ (Digital Novice) คำพูดจาก pg slot เว็บใหม่

2.SME ไทยยังต้องเผชิญอุปสรรคจาก 6 ความท้าทาย ที่อาจจะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลทำไม่สำเร็จ ได้แก่ การขาดแคลนทักษะและความสามารถด้านดิจิทัล, การต้องเจอกับต้นทุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในระดับสูงเกินไป, ยังขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการในการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล, ขาดแคลนเทคโนโลยีที่จำเป็นในการเปิดใช้งาน, มีปัญหาจากความซับซ้อนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จนไม่สามารถตั้งต้นได้ และสุดท้ายคือ ยังมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกันภายในองค์กร ซึ่งในชุดข้อมูลนี้ยังได้เผยถึงสิ่งที่ SME ไทย อยากให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนมากที่สุด นั่นก็คือด้านการเงินและงบประมาณ โดยมีผู้ระบุความต้องการเรื่องนี้ มากถึง 63.30% ส่วนความต้องการรองลงมาคือ การให้สิทธิประโยชน์หลังการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล…และนี่เป็นข้อมูลน่าสนใจที่สะท้อนภาพ SME ยุคเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งผู้ประกอบการทุก ๆ สาขา สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานได้.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ [email protected]